Raksak Vaidara
นุสนธิ์บุคส์
ข้าวสารสามกระสอบ
“แม่ครับ ผมไม่เรียนแล้ว ผมจะออกมาทำนาช่วยแม่”
นางลูบหัวลูกชายสุดที่รักด้วยความเอ็นดู แล้วพูดว่า
“แม่รู้ว่าลูกรู้สึกยังไง ขอบใจมาก แต่ลูกต้องเรียนหนังสือ จงวางใจ แม่เกิดเจ้ามา แม่ก็เลี้ยงดูเจ้าได้ ไปรายงานตัวก่อน ส่วนข้าวสารนั้น แม่จะเอาไปให้วันหลัง ลูกไม่ต้องห่วง! ”
“ให้ผมออกจากโรงเรียนเถอะ ผมจะมาช่วยแม่ทำงาน!”ลูกชายยังคงยืนยันคำตอบเดิม
“เพี๊ยะ!”เสียงมือของนางกระทบใบหน้าของลูกชาย นี่เป็นครั้งแรกที่นางตบหน้าลูกชายวัย16ปี
ลูกชายก้มหน้าร้องไห้ออกจากบ้านไป นางมองลูกชายด้วยความรู้สึกผิด น้ำตาแห่งความสงสารก็ไหลออกมาอาบแก้ม
สามีของนางจากไปตั้งแต่ลูกชายอายุได้7ขวบ แต่นางไม่ได้แต่งงานใหม่ เพราะกลัวว่าสามีใหม่จะไม่รักลูกของนาง
นางยอมอดทนหาเลี้ยงตัวเองและลูกด้วยการทำนาปลูกผักรับจ้างบ้างในบางครั้ง
ลูกชายของนางเป็นเด็กเรียนดี ดูได้จากใบประกาศและถ้วยรางวัลถูกวางซ้อนกันบนตู้เก็บของจนแทบจะไม่มีที่วางแล้ว นางยิ้มได้ทุกครั้งที่เห็นลูกตั้งใจอ่านหนังสือและทำการบ้าน
เมื่อลูกชายของนางจบมัธยมต้น ก็สอบเข้าโรงเรียนประจำอำเภอได้ ตอนนี้นางเป็นโรครูมาตอยด์ ทางโรงเรียนมีมติว่าให้ผู้ปกครองนำข้าวสารมาให้โรงเรียน30กิโล เพื่อเป็นค่าเล่าเรียน เมื่อลูกชายรู้ว่าแม่ทำนาและรับจ้างต่อไปไม่ไหว จึงไม่อยากเรียนต่อ ด้วยความรู้สึกสงสารแม่ของตัวเอง เพราะเหตุนี้ นางจึงตบหน้าลูกไปในวันนี้
ไม่นานต่อมา ทางโรงเรียนก็ได้ต้อนรับคุณแม่ผู้มาสาย นางแบกถุงข้าวสารเดินมาด้วยอาการกระเผลก อาจารย์ผู้รับผิดชอบเปิดถุงข้าวสารเพื่อตรวจเช็ค เมื่อกำเอาข้าวสารขึ้นมาดู เขาขมวดคิ้วพร้อมกับพูดว่า
“ผู้ปกครองอย่างพวกคุณ ชอบเอาเปรียบโรงเรียนแบบนี้เหรอ! ดูสิๆ นี่อะไร!มีทั้งข้าวจ้าว ข้าวเหนียว ข้าวก่ำ ข้าวหักฯ พวกคุณเห็นโรงเรียนของเราเป็นถังข้าวผสมเหรอ?”
เมื่อได้ฟังอาจารย์พูด นางก็ก้มหน้าด้วยความละอาย เอาแต่พูดว่า “ขอโทษค่ะๆ” เมื่ออาจารย์เห็นดังนั้น ก็ไม่กล้าพูดอะไร ได้แต่รับข้าวสารกระสอบนั้นไว้อย่างไม่เต็มใจนัก
นางล้วงมือเข้าไปในถุงใบเก่าๆเล็กๆใบหนึ่ง พร้อมกับหยิบเอาเศษเหรียญออกมาหนึ่งกำมือยื่นให้อาจารย์
“อาจารย์คะ นี่เป็นค่าใช้จ่ายประจำเดือนนี้ของลูกชายอิฉัน ขอรบกวนอาจารย์ช่วยเก็บไว้ให้เขาหน่อยนะคะ” อาจารย์ยืนมือไปรับไว้และก็ส่ายหัวไปมา
“คุณขายไข่ปิ้งเหรอ?” อาจารย์พูดเยาะ
นี่เป็นครั้งที่สองที่นางต้องก้มหน้าด้วยความอาย ได้แต่พูดว่า “ขอบคุณค่ะๆ” แล้วก็เดินกระเผลกๆออกไป
ต้อนเดือนที่สอง นางก็แบกข้าวสารมาให้โรงเรียนเหมือนครั้งที่แล้ว เมื่ออาจารย์คนเดิมเปิดถุงข้าวสารออกมา ก็ต้องขมวดคิ้วเหมือนครั้งก่อน เพราะมันเป็นข้าวสารรวมมิตรเหมือนเดิมอีกแล้ว เขาคิดในใจว่านางคงฟังไม่เข้าใจแน่ๆ ครั้งนี้จะต้องพูดให้นางเข้าใจอย่างชัดเจน
“ถ้าเป็นข้าวสาร เรารับไว้แน่นอน แต่ต้องแยกประเภท ไม่ใช่ปนกันมาอย่างนี้ ครั้งหน้าอย่าทำอย่างนี้อีกนะ หากครั้งหน้ายังเป็นอย่างนี้อีก ผมจะไม่รับนะ” เมื่อนางได้ยินก็ตกใจเป็นอย่างยิ่ง
“อาจารย์คะ ข้าวสารที่บ้านของเราเป็นอย่างนี้ จะทำยังไงดี?”
เมื่ออาจารย์ได้ยินก็หัวเราะด้วยความรู้สึกขำ แล้วก็ถามกลับไปว่า
“จะบ้าเหรอ! บ้านของคุณทำนายังไงปลูกข้าวได้หลายชนิดในแปลงเดียวกัน ”
โดนฉีกหน้าอย่างนี้ นางรู้สึกจุกที่ลำคอ ไม่รู้จะพูดอะไรดี อาจารย์คนนั้นก็เดินจากไปแบบไม่ใยดี
ต้นเดือนที่3 นางก็มาอีก เมื่ออาจารย์คนนั้นได้เห็นข้าวสารที่ยังเหมือนเดิมอยู่ ก็โมโหเป็นอย่างยิ่ง ตะคอกออกไปอย่างขาดสะติว่า
“โอ๊ย! อะไรกันเนี่ย ฟังไม่รู้เรื่องหรือไง? ทำไมยังเอาข้าวผสมกันมาอีกแล้ว เอาไปเลยนะ เอากลับไปเลย แบกมายังไงก็แบกกลับไปอย่างนั้น ฉันไม่รับอีกแล้ว! ”
นางคุกเข่าลงไปกับพื้นทันที ร้องไห้ออกมาอย่างไม่อายใคร
“อาจารย์คะ ฉันขอบอกตามความจริง ข้าวเหล่านี้ฉันไปขอ.....ไปเขาทานมาค่ะ ”
อาจารย์คนนั้นยืนตะลึงอ้าปากค้าง พูดไม่ออก ได้แต่กรอกตาไปมา
นางนั่งอยู่กับพื้น ถลกขากางเกงขึ้นมา ให้อาจารย์เห็นขาทั้งสองข้างที่บิดเบี้ยวไม่ได้รูปอีกทั้งบวมเป่ง นางเอามือปาดน้ำตาแล้วพูดว่า
“ฉันเป็นโรครูมาตอยด์ระยะที่สาม แม้แต่จะเดินก็ลำบากมาก ไหนเลยจะทำนาได้อีก ลูกชายของฉันเป็นเด็กรู้ความ จะลาออกจากโรงเรียนออกมาช่วยฉันทำนา ถูกฉับตบหน้าถึงได้กลับมาเรียนต่อ.... ”
นางเล่าว่า นางไม่กล้าบอกความจริงกับลูกและญาติๆของนาง เพราะกลัวว่าลูกชายและญาติจะอับอาย ทุกๆวันตอนเช้ามืด นางจะเดินทางออกจากบ้านไปยังหมู่บ้านอื่นหลายสิบกิโลเพื่อขอข้าวสาร จากนั้นก็ต้องรอให้พระอาทิตย์ตกดินแล้ว นางถึงจะกลับมาที่บ้าน เมื่อได้ข้าวมา นางจึงเอามารวมกันในถังข้าวสาร
นางก้มหน้าเล่าไปร้องไห้ไป โดยไม่รู้ว่าอาจารย์คนนั้นก็ร้องไห้น้ำตาอาบแก้มเหมือนกับนาง เขาคุกเข่าลงไปพยุงนางขึ้นมา
“คุณเป็นแม่ที่ประเสริฐเสียจริง ผมจะไปรายงานให้อาจารย์ใหญ่ทราบ ขอให้ทางโรงเรียนนำเงินมาช่วยเหลือคุณและครอบครัว” เมื่อนางได้ยิน นางรีบโบกไม้โบกมือ
“อย่านะคะ อย่าทำอย่างนั้น หากลูกของฉันรู้ว่าฉันไปขอข้าวเพื่อมาเลี้ยงเขา เขาจะอับอาย อย่าบอกใครนะคะ อาจารย์เมตตาอิฉัน อิฉันขอขอบพระคุณ ขอให้อาจารย์เก็บเรื่องนี้ไว้เป็นความลับนะคะ อย่าได้บอกใคร!”
เมื่อนางกลับไปแล้ว เรื่องของนางก็ถึงหูของอาจารย์ใหญ่ อาจารย์ใหญ่จึงงดเก็บค่าเทอมของลูกชายนางทั้ง3ปี
หลังจาก3ปีผ่านไป ลูกชายของนางก็สอบติดมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง ด้วยคะแนนที่สูงลิ่ว ในวันมอบใบประกาศนียบัตร อาจารย์ใหญ่ได้เชิญว่าที่นักศึกษาลูกชายของนางขึ้นเวที ทำให้เขารู้สึกไม่สบายใจนัก เพราะเพื่อนที่เรียนเก่งและได้คะแนนดีกว่าเขา ทำไมไม่ถูกเรียก แต่กลับเป็นเขาที่ถูกเรียกขึ้นเวทีแทน
และที่น่าประหลาดใจก็คือ บนเวทีมีกระสอบพลาสติกเก่าๆ3ใบวางไว้ อาจารย์ใหญ่ให้อาจารย์ที่อยู่ประจำโรงอาหารขึ้นมาเล่าเรื่องแม่ขอข้าวส่งลูกเรียนหนังสือให้ทุกคนฟัง ทุกคนต่างก็นั่งน้ำตาซึมไม่มีเสียงพูดใดๆ อาจารย์ใหญ่ชี้มือไปที่กระสอบทั้ง3ใบแล้วพูดว่า
“นี่คือข้าวสาร3กระสอบที่คุณแม่ท่านนั้นออกไปขอทานมา นี่คือข้าวสารที่ไม่อาจใช้เงินซื้อหามาได้ ตอนนี้ขอเชิญคุณแม่ผู้ยิ่งใหญ่ท่านนี้ขึ้นมาบนเวที”
ว่าที่นักศึกษามองไปข้างล่างเวที ก็เห็นอาจารย์ที่อยู่ประจำโรงอาหารพยุงคุณแม่ของเขาเดินขึ้นเวทีมา ไม่มีใครรู้ว่าบุตรชายของนางคิดอะไรอยู่ เมื่อแม่ของเขามาหยุดยืนอยู่ต่อหน้า เขาก็คุกเข่าลงไปกราบแม่และพูดว่า “แม่....ผมขอโทษ.....”
@@@@
ลูกรัก ต่อให้ลำบาก แม่ก็จะทำเพื่อลูก!
คุณละครับ ทำอะไรเพื่อพ่อแม่แล้วหรือยัง?