จับมันมาชำแหละ ตอน “ เจาะลึกสภาวะการเงินของทีม”
วันนี้ยามว่าง ทุกอย่างดั่งใจ
ความคิดมันไหล ทำไรดีหนอ
เปิดโกคิกออฟ ………………(มันไหลแค่นี้ล่ะครับ ไหลต่อเมื่อไหร่เด๋วมา edit ให้ ใครต่อกลอนเก่งๆ มาต่อที)
ผมคิดว่าคนส่วนใหญ่น่าจะละเลย บางสิ่ง บางอย่าง ที่สำคัญมากสำหรับการบริหารสโมสร
สิ่งที่ผู้จัดการมืออาชีพต้องทำ นอกเหนือจาก tacticการเล่น , การศึกษาคู่ต่อสู้ , การฝึกนักเตะ
นั่นคือ การบริหารการเงิน !!!!!
คนส่วนใหญ่อาจจะเคยเปิดเข้าไปหน้า สภาวะการเงิน ผ่านไป ผ่านมา แต่ไม่รู้ความหมายที่แท้จริงของมัน หรืออาจจะมีคำถามในใจว่า มันคืออะไร?? อ่านยังไง??? สำคัญยังไง??? วิเคราะห์ยังไง??? บลา บลา บลา
วันนี้ผมจะจับมันมาชำแหละ ผ่าพิสูจน์ ให้ทุกท่านดูเอง ^^
จากภาพที่ท่านเห็น ผมจะอธิบายให้ท่านเป็นข้อๆไปดั่งที่เห็น
1.ข้อมูลทางการเงินทั่วไป 1.1 จำนวนเงินที่ใช้ได้ = เงินที่มีอยู่ ณ ขณะนี้ มันจะสัมพันธ์กับ ตัวเลขที่แถบซ้ายมือหน้าโลโก้ทีม ….( อนาถใจ อุส่าเอามาโชว์ทั้งที เอาตอนติดลบมาโชว์ 55555)
1.2 เพดานค่าจ้าง = อันนี้จะเป็นตัวบอกว่าเราจะจ่าย ค่าเหนื่อยนักเตะของทั้งทีม ได้ไม่เกินเท่าไหร่ ได้มากได้น้อยขึ้นอยู่ คุณภาพของ สิ่งก่อสร้างที่เรียกว่า “ห้องพัก” ยิ่งคุณภาพสูง เพดานค่าเหนื่อยก็ยิ่งสูงขึ้นไปด้วย
1.3 ค่าจ้างรวม = ค่าเหนื่อยทั้งหมดของนักเตะในทีมเราทั้งหลัก และ เยาวชน ไม่รวม staff
1.4 งบประมาณค่าจ้าง = จำนวนเงินที่สามารถเหลือไว้จ่ายค่าเหนื่อยนักเตะได้ เรียกง่ายๆว่า งบค่าเหนื่อยนักเตะ
บทวิเคราะห์ ส่วนที่ 1 เอาไว้ดูว่าตอนนี้ ค่าจ้างรวมเท่านี้แล้วนะ เหลืองบค่าเหนื่อยเท่านี้จะจัดการวางแผนในอนาคตยังไง
เช่น อาจจะเอาไว้สำหรับ นักเตะ ca7 สัก 3 ตัว ca6 สัก 1 ตัว หรือจะเอา เทพไปเลยค่าเหนื่อย 30k ตัวเดียว
ข้อสังเกต เพดานค่าจ้างจะเพิ่มตามคุณภาพของห้องพัก เพราะฉะนั้น ถ้าค่าเหนื่อยนักเตะไม่มากเท่าไหร่ เราก็ไม่จำเป็นต้องอัพห้องพักมากก็ได้ เพราะเปลืองเงิน และ ค่าบำรุงรักษา!!!! 2.สรุป = ผมจะมาสรุปตอนท้ายนะครับ เพราะ มันควรจะจัด รายรับ รายจ่าย แล้วมาสรุป = =”
===ตรงนี้ 3 แถบด้านบนที่เขียนว่า สัปดาห์นี้ สัปดาห์ที่แล้ว สัปดาห์ที่แล้ว อันสุดท้ายแปลผิดนะครับต้องเป็น ฤดูกาลนี้ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องแก้ไขด้วย===3.รายรับ 3.1 ขายตั๋ว = การขายตั๋วของการเตะการแข่งขันทุกนัด ถ้วย กระชับมิตร บอลลีค รวมถึงส่วนแบ่งจากการเล่นเป็นทีมเยือนเช่น บอลถ้วย กระชับมิตร ถ้วยดำ
3.2 สปอนเซอร์ = รายได้จากสปอนเซอร์
3.3 การนำออกตลาด = รายได้จาก โรงแรม ศุนย์การค้า บาร์ รายละเอียดเจาะลึกกระทู้นี้เลยครับ
http://forum.gokickoff.com/index.php?topic=3682.03.4 ขายนักเตะ = รายได้จากการขายนักเตะในทีม
3.5 อื่นๆ = รายได้จากการออกบู๊ทขายของ หรือ กิจกรรมสโมสรนั่นเอง
จะรวมถึงรางวัลที่ได้จากบอลลีคและบอลถ้วย(เเชมป์+รองแชมป์) credit by passza วิเคราะห์ รายรับคือ รายได้ของสโมสร ยิ่งรายได้เยอะ ยิ่งเป็นผลดีคือ เราจะได้เงินมาใช้สอยได้มากขึ้น ทั้งการจับจ่ายซื้อนักเตะ อัพสิ่งก่อสร้าง รวมถึงการปลดหนี้ด้วย
ตัวอย่างจากสโมสร newbie นะครับ จะเห็นได้ว่ารายรับส่วนใหญ่ จะมาจากการขายตั๋วซึ่ง ยิ่งถ้า rating เยอะ คนดูก็เยอะตามด้วย ทำให้ได้เงินเยอะขึ้น แต่การอัพคุณภาพสนามแข่งนั้น ไม่ใช่แนวทางที่จะเพิ่มรายรับสักเท่าไหร่ เพราะค่าบำรุงรักษาจะเพิ่มขึ้นตามคุณภาพที่นั่งเป็นเงาตามตัว ยกเว้น คุณภาพสนาม very good ที่จะได้ค่าที่นั่งเพิ่ม 1g จากค่าบำรุงรักษาที่เท่าเดิม
รายรับรองลงมาก็คือ การนำออกตลาด นั่นเอง ซึ่งผมสังเกตว่า ผู้จัดการทีมหลายๆคนไม่ค่อยให้ความสำคัญ ทั้งที่แท้จริงแล้วมันค่อนข้างจะได้เยอะพอสมควรเลยจาก bar store hotel ระดับ VG ซึ่งจะได้ประมาณ 44k+-/1สิ่งก่อสร้าง ซึ่งหลังจากหักค่าบำรุง 10k แล้ว จะได้ ราวๆ 34k+- /1 สิ่งก่อสร้าง และจะเพิ่มหรือลดอีกตาม rating (44k ของผมได้มาจาก rating ประมาณ 3400 ของใครเท่าไหร่ก็คำนวณกันดู) ใน 1ฤดูกาลจะมีราวๆ 16 สัปดาห์ ซึ่งหมายความว่า สโมสร newbie จะได้กำไรจากการออกตลาด = 544k / 1 สิ่งก่อสร้าง หรือ ราวๆ 1.65m จากการออกตลาดทั้งฤดูกาล หลังหักค่าใช้จ่ายแล้ว ไม่น้อยเลยใช่มั้ยล่ะครับ
ข้อสังเกต
1. รายได้จากการขายตั๋ว แต่ละสัปดาห์อาจจะได้ไม่เท่ากัน เพราะในหนึ่งสัปดาห์เราอาจจะเป็นเจ้าบ้านบอลลีค 2 นัด หรือ 1 นัด หรืออาจจะไม่ได้เลยถ้าโปรแกรมอาทิตย์นั้นของเราไปเยือนทั้งหมด (1สัปดาห์เตะบอลลีค 2 นัด)
2.หลังจากวิเคราะห์แล้วจะเห็นว่า แหล่งที่มาของรายรับทุกอย่างนั้น มีส่วนคำนวณจาก rating ทั้งนั้น ทั้งจากจำนวนผู้ชมที่เพิ่มขึ้น จากสปอนเซอร์ จากการนำออกตลาด รวมทั้งจากการกดบู้ท เพราะฉะนั้น เป้าหมายที่สำคัญที่สุดของสโมสรคือ การนำทีมไปลีคสูงๆเพื่อการปลดล๊อก limit rating หลังจาก rating สูง เงินที่เข้ามาย่อมสูงตามไปด้วย ซึ่งหมายความถึง จำนวนเงินที่จะเข้ามาพัฒนาสโมสร
3.จากข้อ 2 ก็จะพิจารณากันว่า การที่ปั้นเด็กไปด้วย พยายามเลื่อนชั้นไปด้วย ซึ่งมีผลดีคือ ได้เงินเยอะจาก rating ที่เยอะแต่เสี่ยงกับการแข่งขันทีสูงขึ้น กับ อยู่ปั้นเด็กที่ลีกล่างๆความเสี่ยงต่ำแต่เงิน น้อย อันไหนดีกว่ากัน ก็แล้วแต่พิจารณา จาก ผู้บริหารทีม ซึ่งเราอาจจะนำมา ชำแหละ วันหลังอีกที 4.รายจ่าย 4.1 ค่าจ้างและโบนัส = รายจ่ายรวมของ ค่าจ้างของนักเตะ ค่าโค้ช รวมถึงค่าฉีกสัญญานักเตะด้วย
4.2 ค่าบำรุงรักษา = คำใช้จ่ายในการบำรุงรักษาสิ่งก่อสร้างทุกชนิด ค่าบำรุงรักษาสนามแข่ง (ขึ้นอยู่กับจำนวนที่นั่งและคุณภาพ) ค่าบำรุงรักษา youth camp
รวมถึงค่าใช้จ่ายในการอัพสิ่งก่อสร้างแต่ละอย่างด้วย by passza 4.3 ค่าซื้อนักเตะ = ค่าใช้จ่ายจากการซื้อนักเตะ
รวมในส่วนของ signing on fee ด้วย by passza4.4 อื่นๆ =
นักเตะที่เรากดเพิ่มเข้ามาในอคาเดมี่ ตัวละ 300k จะอยู่ในส่วนนี้ by passza(เนื่องจากเงินติดลบเลยไม่ได้บิดนักเตะ ตั้งแต่ระบบซื้อขายใหม่เข้ามาเลยไม่รู้ค่า signing on fee ขึ้นที่ช่องไหน , ผมจำไม่ได้ว่าเวลาอัพเกรดสิ่งก่อสร้าง ค่าใช้จ่ายมันขึ้นที่ค่าบำรุง หรือ อื่นๆ ใครรู้ช่วยเสริมทีนะครับ ^^ )
วิเคราะห์ เรามาลองวิเคราะห์รายจ่ายของเรากัน จากตัวอย่างทีม newbie จะเห็นได้ว่า รายจ่ายของทีม ค่อนข้างที่จะน้อยเมื่อเทียบกับทีมอื่น เนื่องจาก นโยบายการทำทีม ที่เน้นลดรายจ่ายให้และเพิ่มรายรับให้มากที่สุด ซึ่งถ้าแวะ มาเยี่ยมทีมผมจะเห็นว่า ทีมผมไม่เน้นแนวทางการปั้นเด็ก ซึ่งถ้าจะปั้นเด็กจะทำให้เกิดค่าใช้จ่ายจำนวนมาก ทั้งค่าสร้าง ค่าบำรุงรักษา ผมจะยกตัวอย่างให้ดูรายจ่ายค่าบำรุงรักษา (ไม่รวมค่าก่อสร้างอีกมหาศาล) ของการปั้นเด็กนะครับ
Academy VG 15000g fitness VG 15000g Training Ground VG 20000g Coach 15k *3 45k
ซึ่งรวมเป็นเงินถึง 95k/week อาจฟังดูไม่เยอะนะครับ แต่ความจริง=รายจ่ายซึ่งไม่ก่อให้เกิดรายรับถึง 1.5m/ ฤดูกาล แต่ในอีกมุมมองนึง ถ้า 1 ฤดูกาลเด็กที่ฝึกฝนของคุณทั้งหมด สามารถขายได้ และหักค่าเหนื่อยแล้ว ได้เงินมากกว่า 1.5m ก็แปลว่า การลงทุนกับการปั้นเด็กของคุณทำให้เกิดกำไรไม่ใช่ขาดทุน ซึ่งก็เป็นการลงทุนที่อยู่ในความเสี่ยงเนื่องจากเด็กทีออกจาก aca อาจจะมีมูลค่าไม่สูงนัก อันนี้ก็ขึ้นกับแนวทางการทำทีมของผู้บริหารของแต่ละคนอีกเหมือนกัน (แต่ก็อย่าลืมบวกต้นทุนในการที่เราจะปั้นเด็กแล้วขายไม่ได้ใน SS นั้น ซึ่งก็เป็นส่วนมาก การที่จะปั้นเด็กใว้ขายให้ได้ CA4+ ขึ้นไปเพื่อให้ได้ราคาดี อาจต้องใช้เวลามากกว่า 1ss)
สำหรับค่าจ้างนักเตะนะครับ คุณจะสังเกตเห็นค่าเหนื่อยที่แตกต่างระหว่าง CA6 และ CA7 ที่ต่างกันถึง 3 เท่า แปลว่า คุณจ่ายค่าเหนื่อยให้กับพวก CA7 1คน จะไปแบ่งจ่าย CA 6 ได้ถึง 3 คน!!!! เพราะฉะนั้น ทริคเล็กน้อยที่ผมใช้คือ การให้ตำแหน่งที่ไม่สำคัญกับทีม มี ca <6 ซึ่งจะทำให้คุณประหยัดไปเยอะมาก กว่าการมี CA 7+ ทั้งทีม ซึ่งถ้าคุณเล่นเกมเปิดบุก (ซึ่งเป็นส่วนมาก) ผมจะให้ ca<6 กับผู้เล่นแผงรับ และ ca>7 กับผู้เล่นแผงรุก ในกรณีที่คุณเล่นเกมแนวรับแล้ว couter ก็ให้แผงรับ CA>7 แผงรุก Ca<7 และ FC ca 7+ เพื่อประสิทธิภาพในการจบสกอร์ สรุปการเงิน จากตัวอย่างสัปดาห์ที่ผ่านมาจะเห็นว่า ทีม newbie รายรับ มากว่า รายจ่าย ซึ่งรายรับของผมจะไม่ค่อยแน่นอนขึ้นอยู่กับ การเตะบอลถ้วย และ ความขยันในการทำกิจกรรม ส่วนรายจ่ายของผมค่อนข้างที่จะคงที่ ถ้าไม่อัพสนามหรือซื้อนักเตะเข้ามาเสริมทัพ ซึ่งสัปดาห์ที่แล้วกำไร ที่ได้คือ 280k แต่ไม่ได้แข่งบอลถ้วย เพราะฉะนั้นถ้ารวมบอลถ้วยจะได้ประมาณ 350k/สัปดาห์ ดังนั้นเราจะคำนวณได้ว่า ในฤดูกาลนี้ผมจะมีกำไรสุทธิโดยประมาณ = 350k * 15 = 5.2m +- (บวกลบขึ้นอยู่บอลถ้วยว่าจะเข้ารอบได้ลึกแค่ไหน )
สุดท้าย
ในความเป็นจริงผู้จัดการที่ดี ไม่ใช่การพาทีมได้แชมป์นู่น แชมป์นี่ แต่ทำให้สโมสรมีกระแสเงินเป็นลบ ผู้จัดการที่ดีจะต้องวางแผนพาทีมประสบความสำเร็จทั้งด้านการแข่งขันและด้านการเงิน